·
ความขัดแย้งด้านข้อมูล ( Data Conflict )
ชาวบ้านกับทาง
อ.บ.ต.และบริษัทเอกชนมีความคิดเห็นที่ต่างกัน
โดยทางอบต.และบริษัทเอกชนเห็นว่าการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะเป็นเรื่องที่ดีต่อชุมชนเพราะจะเป็นการช่วยกำจัดขยะภายในชุมชนให้มีน้อยลง
แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่กลัวว่าโรงงานจะปล่อยสารพิษออกมาและการสร้างโรงงานไม่ได้สร้างที่บ่อขยะเดิม
ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่ทราบข้อมูลโดยละเอียด
การรับฟังความคิดเห็นไม่มีกำหนดล่วงหน้า
ไม่มีการแจ้งเหตุผลส่งผลให้ชาวบ้านที่ไปรับฟังได้รับข้อมูลที่ไม่ชัดเจนและการตอบคำถามก็ไม่ชัดเจน
·
ความขัดแย้งจากผลประโยชน์ ( Interests Conflict )
ชาวบ้านเห็นว่ามีความไม่โปร่งใสตั้งแต่แรกแล้วเช่นไม่มีการส่งแบบโครงการให้ชุมชนทราบ
ไม่บอกเรื่องกรมวิธีและเครื่องจักร มีการซื้อโฉนดที่ดินทับที่กัน
และปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนของนักการเมืองท้องถิ่น และคาดว่าอบต.น่าจะมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทเอกชน
·
ความขัดแย้งด้านโครงสร้าง ( Structural Conflict )
ชาวบ้านมีการร้องเรียนว่ามีการบังคับ
ข่มขู่ให้ลงคะแนนเสียงเห็นด้วยโดยทางอบต.มีการยืนยันว่าไม่ได้ใช้อำนาจ
สามารถทำการตรวจสอบได้ และทางอบต.บอกว่ามีการประท้วงคัดค้านจากชาวบ้านแต่ไม่ใช่ชาวบ้านที่มีภูมิลำเนาอาศัยเป็นคนในท้องที่
มีการเกณฑ์คนให้ร่วมประท้วงไม่เข้าไปทำประชาคม
·
ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ ( Relationship Conflict )
ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่รวมตัวกันประท้วง
คัดค้านนั้นจะเป็นพรรคเป็นพวกเดียวกันจะทำตามๆกันและบางคนก็อาจจะโดนจ้างมา
ซึ่งทางอบต.มีความสัมพันธ์ที่ดีกับบริษัทเอกชนจึงทำให้เป็นไปได้ว่าอบต.จะเข้าข้างทางเอกชนมากกว่า
ความคัดแย้งด้านค่านิยม ( Values Conflict )
ชาวบ้านส่วนใหญ่จะไม่มีความรู้เรื่องโรงไฟฟ้าพลังงานขยะซึ่งถ้าพรรคพวกของจนเห็นด้วย
ตนเองก็จะเห็นด้วยตามหรือถ้าไม่เห็นด้วยก็จะไม่เห็นด้วยตาม
เพราะตามนิสัยคนไทยจะเข้าข้างพรรคพวกมากกว่าคุยกันด้วยเหตุผลและชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนที่มีอายุจึงทำให้คล้อยตามได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น