ภารกิจที่1 อธิบายปัญหา
1.ปัญหาที่ต้องการศึกษา
- ความขัดแย้งการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากขยะชุมชนเพื่อแก้ปัญหาขยะล้นเมือง
การไม่ยอมรับให้จัดตั้งโรงงานไฟฟ้าของคนในชุมชน
2.ปัญหานี้มีความร้ายแรงเพียงใด สำหรับชุมชน
- ในกรณีที่หากยังไม่มีการสร้างโรงงานขยะขึ้น
ปัญหาขยะล้นเมืองก็จะตกค้างอยู่แต่ในบ่อขยะบริเวณที่ชุมชน
ซึ่งหากไม่สร้างโรงงานขึ้น พื้นที่ที่เก็บขยะก็จะไม่พอ
จะนำพาให้เกิดปัญหาล้นและมีกลิ่นเหม็น สามารถลุกลามไปถึงปัญหาหลายๆอย่าง เช่น
ปัญหาเศรษฐกิจในชุมชน เป็นต้น
- ในกรณีที่สร้างโรงงานขยะขึ้นในอนาคต
ทางชุมชนได้มองเห็นถึงปัญหาที่จะตามมาคือ มลพิษจากการเผาขยะทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ
และปริมาณขยะที่นำเข้ามาในชุมชนที่มากเกินไป
- ในกรณีของความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มผู้คัดค้านการสร้างโรงงาน กับผู้ที่เห็นด้วย มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยชูป้ายคัดค้าน การส่งเสียงไม่พอใจ เกิดความไม่สงบในชุมชน การสร้าง Page Facebook ต่อต้านเกิดความเสียหายกับหน่วยงานต่างๆ เช่น บริษัทฯที่ก่อตั้งโรงงาน
3.ปัญหานี้มีการแพร่กระจายไปยังชุมชนอย่างไร
- ในส่วนของเอกชนมีการจะจัดตั้งโรงงานไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากขยะในชุมชน
ทำให้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลได้ส่งจดหมายทำประชาคมให้กับชาวบ้านซึ่งเป็นเจ้าบ้าน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ มารับทราบข้อมูล
พร้อมทั้งลงประชาพิจารณ์รับการจัดตั้งโรงงานไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากขยะ และมีผู้รวมตัวกันคัดค้าน
4.ทำไมรัฐบาลต้องจึงควรเข้ามาดูแลปัญหานี้
- เพราะรัฐบาลมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบดูแลประชาชน
ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด จะคัดค้านหรือสนับสนุน รัฐบาลก็ควรจะเข้ามาดูแลเข้ามาตรวจสอบและให้ข้อมูลกับประชาชน
เพื่อสร้างความมั่นใจและ เชื่อใจให้กับประชาชน
ซึ่งรัฐมีสิทธิในการตัดสินใจหลายๆด้าน และมีความเป็นกลาง
5.มีใครบ้างในชุมชนที่ควรเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหานี้
- ผู้นำชุมชนและประชาชนในชุมชมควรมีการร่วมมือกัน มาศึกษาความเป็นมาของโครงการนี้โดยละเอียดในรอบๆด้าน
โดยที่สร้างความเข้าใจและข้อมูลที่เท็จจริงให้กับคนในชุมชนให้ได้รับรู้เรื่องราวข่าวสารผลกระทบต่างๆทั้งข้อดีและข้อเสียในการจัดตั้งโรงงานขยะ
เมื่อได้รับข้อมูลอย่างทั่วถึงก็จะสามารถร่วมประชุมแก้ไขปัญหาได้ว่าควรจะสรุปผลอย่างไรให้เป็นในเรื่องที่ถูกต้องได้ในอนาคต
6.มีกฎหมายหรือนโยบายใดที่จะจัดการกับปัญหา
- ด้านการสร้างโรงงานฯ รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนการผลิต
และการใช้พลังงานทดแทนในภาคการผลิตไฟฟ้าเพราะปัจจุบันพลังงานที่นำมาผลิตกระแสไฟฟ้ามีอยู่อย่างจำกัด
และขาดแคลน รวมถึงสถานการณ์ด้านพลังงานของประเทศไทย
และทั่วโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์
จันทร์โอชา ได้นำสาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559 กำหนดเป็นนโยบายด้านพลังงานและได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
วันที่ 12 กันยายน 2557
- สำหรับปัญหาของขยะการนำนโยบายที่ดิน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชน
ชุมชนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน
ให้มีความสมดุลของการใช้ประโยชน์
- เกี่ยวกับปัญหาผู้คัดค้าน
จนเกิดการคิดแย้งกันแก้ปัญหาโดยการเปิดรับฟังความคิดเห็น และมีการตรวจสอบ EIA เพื่อความพอใจของทั้งสองฝ่าย
7.กฎหมายที่มีอยู่แล้วเพียงพอที่จะแก้ปัญหาหรือไม่
- หากกล่าวถึงกฎหมายนั้นมีความเพียงพอ
เพราะการจะจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานขยะของชุมชนจะต้องมีกระบวนการตรวจสอบทุกขั้นตอนอย่างถูกต้อง
และเป็นไปในทางสุจริต
รวมไปถึงเรื่องความปลอดภัยของประชาชนในชุมชนที่จะได้รับผลกระทบต่างๆ
ที่ปัจจุบันยังไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ เป็นต้น
ดังนั้นจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่ถูกต้อง แต่ในทางกลับกัน
ปัจจุบันความเชื่อใจของประชาชนเกี่ยวกับข้อกำหนดกฎหมายในสังคมลดน้อยลง
เนื่องจากมีการฉ้อโกง ทุจริตให้เห็นมากในสังคมไทย จึงเห็นได้ว่า
กฎหมายนั้นเพียงพอแต่ การนำมาใช้ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
8.ชุมชนของเรามีความคิดเห็นอย่างไรบ้างเกี่ยวกับปัญหานี้ และมีการเสนอทางออกหรือไม่ อย่างไร
- ในกรณีของฝ่ายคัดค้าน เสนอถึงการตรวจสอบบริษัทโรงไฟฟ้าอย่างละเอียด
เพราะว่าทางโรงงานไม่ได้แจ้งข้อมูลการสร้าง
พื้นที่การสร้างและการกำจัดขยะในแต่ละวันแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด
เหมือนกันยังไม่โปร่งใส
ทางแกนนำจึงเสนอทางออกโดยการยกเลิกการที่จะสร้างโรงงานไปก่อนและมานำเสนอข้อมูลที่เป็นจริงให้กับประชาชน
- ในกรณีของผู้สนับสนุน
เสนอว่าปัจจุบันชุมชนมีพื้นที่จัดเก็บขยะซึ่งปัจจุบันมีกลิ่นเหม็นและเกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมาคือโรคจากฉี่หนูหรือจากแมลงสาบ
ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีกับประชาชนบริเวณใกล้เคียงกับบ่อขยะ ทั้งนี้เลยเห็นว่าการที่จะจัดตั้งโรงงานไฟฟ้าพลังงานจากขยะของชุมชนมีความเหมาะสม
เพียงแต่ยังต้องการข้อมูลข่าวสารต่างๆอย่างละเอียด
9.มีบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรใดบ้างในชุมชนที่สนใจปัญหานี้
- กลุ่มแกนนำคัดค้าน
เป็นกลุ่มที่สนใจปัญหานี้และศึกษาปัญหานี้อย่างเดียว มีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพร้อมทั้งรวมรวบคนในชุมชนมา
10.มีหน่วยงานรัฐใดบ้างที่มีหน้าที่รับผิดชอบในปัญหานี้ เพราะอะไร
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอิรุณ
เป็นหน่วยงานติดต่อประสานงานทั้งบริษัทเอกชนและประชาชนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
พร้อมทั้งเป็นส่วนกลางในการจัดการจัดตั้งประชาพิจารณ์ให้กับประชาชน
เพราะพื้นที่ที่บริษัทจะมาจัดตั้งโรงงานไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากขยะ
เป็นพื้นที่ที่อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองอิรุณ
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ดูแลประชาชนในเขตพื้นจังหวัดชลบุรี
รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ที่ไม่เห็นด้วย
- อุตสาหกรรมจังหวัด รับเรื่องโครงการจากบริษัทฯ เพื่อดำเนินโครงการ
- รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี
กล่าวเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องเร่งแก้ไข โดยวาง “โรดแม็ป” การกำจัดขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายให้หมดไปในระยะเร่งด่วนและระยะยาว
โดยเผาขยะมาผลิตไฟฟ้าเรียกว่า “โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ”
11.มีรัฐบาลทำอะไรเกี่ยวกับปัญหานี้
- รัฐบาลสั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีดำเนินตรวจสอบการสร้างโรงไฟฟ้า
โดยให้สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
โดยการตรวจสอบว่าเป็นโครงการที่จะมีผลกระทบเชิงลบ หรือเชิงบวกมาน้อยเพียงใด และนโยบายมีความโปร่งใสหรือไม่
สามารถตรวจสอบกระบวนการต่างๆได้
แต่หากเกิดผลกระทบในเชิงลบในเวลาต่อมาอนาคตก็สามารถผลักดันให้โรงงานปิดไปในที่สุด
หรือหากไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และดำเนินการอย่างโปร่งใส
อาจจะมีการทำประชาพิจารณ์ ถามข้อคิดเห็นของประชาชน และก็จะมีการดำเนินการโครงการต่อ
ภารกิจที่ 2 การตรวจสอบนโยบาย
1.มีนโยบายอะไรบ้างที่เป็นทางเลือกสำหรับการจัดการจัดการกับปัญหานี้
1.1 นโยบายที่ใช้ในปัจจุบัน
- มีการทำ EIA (Environmental Impact Assessment) ให้สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้ามาตรวจสอบผลกระทบด้านมลภาวะทางอากาศจากการสร้างโรงงานที่มีต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ชุมชน
โดยใช้หลักวิชาการในการทำนายหรือคาดการณ์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบของการดำเนินโครงการพัฒนา
ที่จะมีผลต่อสิ่งแวดล้อมในทุกๆ ด้าน ทั้งทางทรัพยากรธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ และสังคม
เพื่อจะได้หาทางป้องกันผลกระทบในทางลบที่อาจเกิดขึ้นให้เกิดน้อยที่สุด
1.2 นโยบาย/แนวทางที่บุคคล กลุ่มบุคคลในชุมชนเสนอ: แบ่งเป็น 2 กลุ่ม มีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
- กลุ่มที่เห็นด้วยก็จะสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะเพราะโรงไฟฟ้าจากขยะเพราะเห็นว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะช่วยลดปริมาณขยะในชุมชนลงได้
- กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยก็จะคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าขยะเพราะกลัวจะเกิดมลพิษทางอากาศและสิ่งแวดล้อม
อีกทั้งยังมีตัวอย่างโรงไฟฟ้าจากขยะในประเทศไทยที่เคยทำขึ้นก่อนหน้านี้และต้องปิดตัวไปด้วยปัญหาเรื่องงบประมาณ
1.3 นโยบาย/แนวทางที่มีการแสดงความเห็นในชั้นเรียน
-
ควรให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างอบต.และชาวบ้านทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าขยะให้เข้าใจถึงข้อดี
ข้อเสีย ผลกระทบ เพื่อให้สามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น นำเสนอข้อมูล ข้อโต้แย้ง
หรือข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบน้ำข้อเสนอแนะไปพิจารณาการดำเนินงาน
ควรให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างอบต.และชาวบ้านทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าขยะให้เข้าใจถึงข้อดี
ข้อเสีย ผลกระทบ เพื่อให้สามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น นำเสนอข้อมูล ข้อโต้แย้ง
หรือข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบน้ำข้อเสนอแนะไปพิจารณาการดำเนินงาน
2.ข้อดีของนโยบาย/แนวทางดังกล่าว:
ข้อดี
- สามารถใช้ในการวางแผนการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและจะช่วยในการมองปัญหาต่างๆ
ได้กว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิมที่มองเพียงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นประเด็นหลัก
อันก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมแก่ทรัพยากรธรรมชาติตามมา
- พิจารณาถึงผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความรุนแรงจากการพัฒนาโครงการ
เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถหามาตรการในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นนั้นอย่างเหมาะสมก่อนดำเนินการ
- สามารถคาดการณ์ประเด็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการโดยเลือกมาตรการที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติและค่าใช้จ่ายน้อย
เป็นข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการลงทุนหรือพัฒนาโครงการ การเตรียมแผนงาน
แผนการเงินในการจัดการสิ่งแวดล้อมและสามารถใช้ผลการ ศึกษาเป็นข้อมูลที่จะให้ความ
กระจ่างต่อสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันความขัดแย้งของการใช้ทรัพยากรได้
แนวทางกำหนดแผนการติดตามตรวจสอบผลกระทบต่างๆ
ทั้งที่เกิดขึ้นภายหลังได้เป็นหลักประกันในการใช้ทรัพยากรที่ยาวนาน ( long - term sustainable development )
- สามารถใช้ในการวางแผนการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและจะช่วยในการมองปัญหาต่างๆ ได้กว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิมที่มองเพียงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นประเด็นหลัก อันก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมแก่ทรัพยากรธรรมชาติตามมา
- พิจารณาถึงผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความรุนแรงจากการพัฒนาโครงการ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถหามาตรการในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นนั้นอย่างเหมาะสมก่อนดำเนินการ
- สามารถคาดการณ์ประเด็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการโดยเลือกมาตรการที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติและค่าใช้จ่ายน้อย เป็นข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการลงทุนหรือพัฒนาโครงการ การเตรียมแผนงาน แผนการเงินในการจัดการสิ่งแวดล้อมและสามารถใช้ผลการ ศึกษาเป็นข้อมูลที่จะให้ความ กระจ่างต่อสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันความขัดแย้งของการใช้ทรัพยากรได้ แนวทางกำหนดแผนการติดตามตรวจสอบผลกระทบต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นภายหลังได้เป็นหลักประกันในการใช้ทรัพยากรที่ยาวนาน ( long - term sustainable development )
3.บุคคลที่สนับสนุนแนวทางดังกล่าว
- นักวิชาการ ชาวบ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้อง
4.บุคคลที่ต่อต้านนโยบายดังกล่าว
- ยังไม่มีการต่อต้านเกิดขึ้น
ภารกิจที่ 3 การนำเสนอนโยบายสาธารณะ
1.นโยบาย/แนวทางที่กลุ่มเห็นว่าดีที่สุดสำหรับการแก้ปัญหานี้
- สำหรับปัญหาของความขัดแย้งระหว่างผู้ที่คัดค้านและบริษัทฯ ควรจะมีการรับฟังความคิดเห็นของทั้งสองฝ่าย
การพูดคุยกันรับฟังเหตุและผล โดยใช้หลักวิชาการที่ถูกต้อง เป็นข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบได้
-
หากมีการก่อสร้างโรงงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ควรที่จะตรวจสอบผลกระทบทุกๆด้านอย่างระเอียดและโปร่งใส ทางบริษัทฯ
ควรที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากขยะให้ระเอียด ในทุกๆขั้นตอน
เพื่อให้เกิดความชัดเจน และน่าเชื่อถือ หากมีข้อเสียเล็กน้อยในบางส่วนเกี่ยวกับผลกระทบ
บริษัทฯควรที่จะเข้ามารับผิดชอบเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียกับทั้งชาวบ้านและชุมชน
-
หากโครงการถูกยกเลิก กระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ควรที่จะเข้าดูแลเกี่ยวกับปัญหาบ่อขยะ อ.บ้านบึง ที่ปัจจุบันกองสูง ส่งกลิ่นเหม็น
ทำลายทัศนียภาพ เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจชุมชน และผลกระทบอีกมากมาย จัดตั้งถังขยะเพื่อให้คนในชุมชนรู้จักการแยกขยะ
เริ่มจากการแยกขยะในบ้านแต่ละหลังคาเรือน จากจุดเล็กๆ ไปยังจุดใหญ่ๆในชุมชน อบต.ควรจัดทำแผนงานการกำจัดขยะให้ถูกวิธีอย่างจริงจัง การร่วมมือที่ดีระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรืออบต.หนองอิรุณ
และชาวบ้าน เพื่อความร่วมมือที่ดีในอนาคต การนำนโยบายที่ดิน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชน
ชุมชนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน ให้มีความสมดุลของการใช้ประโยชน์
การถือครอง และการอนุรักษ์ฐานทรัพยากร เร่งรัดการควบคุมมลพิษทางอากาศ ขยะ น้ำเสีย
กลิ่น และเสียง
ที่เกิดจากการผลิตและบริโภคส่งเสริมให้ภาครัฐและภาคเอกชนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการผลิตวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้
โดยการหมุนเวียนการใช้วัตถุดิบและเทคโนโลยีที่สะอาด
หากมีการก่อสร้างโรงงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ควรที่จะตรวจสอบผลกระทบทุกๆด้านอย่างระเอียดและโปร่งใส ทางบริษัทฯ
ควรที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากขยะให้ระเอียด ในทุกๆขั้นตอน
เพื่อให้เกิดความชัดเจน และน่าเชื่อถือ หากมีข้อเสียเล็กน้อยในบางส่วนเกี่ยวกับผลกระทบ
บริษัทฯควรที่จะเข้ามารับผิดชอบเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียกับทั้งชาวบ้านและชุมชน
หากโครงการถูกยกเลิก กระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ควรที่จะเข้าดูแลเกี่ยวกับปัญหาบ่อขยะ อ.บ้านบึง ที่ปัจจุบันกองสูง ส่งกลิ่นเหม็น
ทำลายทัศนียภาพ เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจชุมชน และผลกระทบอีกมากมาย จัดตั้งถังขยะเพื่อให้คนในชุมชนรู้จักการแยกขยะ
เริ่มจากการแยกขยะในบ้านแต่ละหลังคาเรือน จากจุดเล็กๆ ไปยังจุดใหญ่ๆในชุมชน อบต.ควรจัดทำแผนงานการกำจัดขยะให้ถูกวิธีอย่างจริงจัง การร่วมมือที่ดีระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรืออบต.หนองอิรุณ
และชาวบ้าน เพื่อความร่วมมือที่ดีในอนาคต การนำนโยบายที่ดิน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชน
ชุมชนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน ให้มีความสมดุลของการใช้ประโยชน์
การถือครอง และการอนุรักษ์ฐานทรัพยากร เร่งรัดการควบคุมมลพิษทางอากาศ ขยะ น้ำเสีย
กลิ่น และเสียง
ที่เกิดจากการผลิตและบริโภคส่งเสริมให้ภาครัฐและภาคเอกชนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการผลิตวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้
โดยการหมุนเวียนการใช้วัตถุดิบและเทคโนโลยีที่สะอาด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น