วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กรณีศึกษาการจัดการความขัดแย้ง :การก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากขยะชุมชนเพื่อแก้ปัญหาขยะล้นเมือง

เรื่องราวความขัดแย้ง

สถานที่ : ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

เหตุการณ์ : การรวมตัวกันของชาวบ้านในพื้นที่และนอกพื้นที่จำนวนหนึ่ง ที่คัดค้านและทำการร้องเรียนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากขยะ เนื่องจากกังวลถึงมลพิษและปริมาณขยะจำนวนมากที่จะเข้ามาสู่ชุมชน และปัญหาอื่นๆตามมา แต่ก็มีชาวบ้านจำนวนหนึ่งสนับสนุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากขยะ

การสร้าง : โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากขยะชุมชน ขนาดกำลังการผลิต 6 เมกะวัตต์

สถานที่ก่อสร้าง : ก่อสร้างในพื้นที่ หมู่ 2 บ้านเขาไผ่  ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

บริษัท :บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด(มหาชน)

ก่อสร้างเพื่อ : เพื่อแก้ปัญหาขยะตกค้างจำนวนหลายล้านตันในจังหวัดชลบุรี ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนงานโครงการโรงงานขยะ แปรรูปขยะ ทั้งในส่วนของภูมิภาคและท้องถิ่น และแปรสภาพขยะเป็นวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้า กำลังผลิตไฟฟ้า 6 เมกะวัตต์ สำหรับ 4500 หลังคาเรือน คาดว่าสร้างแล้วเสร็จ 18 เดือน

จากเหตุการณ์ : นโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ได้วางโรดแมปไว้แล้ว และเป็นหนทางเดียวที่สามารถแก้ปัญหาขยะได้อย่างยั่งยืนที่ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนงานโครงการโรงงานขยะ แปรรูปขยะ ทั้งในส่วนของภูมิภาคและท้องถิ่น บริษัทอินเตอร์เนชั่นเนิลเอนจิเนียริ่ง จำกัด(มหาชน) ได้มีโครงการสร้าง โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากขยะชุมชน ขนาดกำลังการผลิต 6 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ก่อสร้างในพื้นที่ หมู่ 2 บ้านเขาไผ่  ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี และได้มีการจัดเวทีประชาพิจารณ์ของชาวบ้านตำบลหนองอิรุณ เพื่อให้สมาชิกชุมชนในพื้นที่ รับทราบและแสดงความเห็นชอบ กับโครงการ วันที่  22 มีนาคม 2558 ที่สมาคมกลุ่มอาชีพการเกษตรชลบุรี ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ชาวบ้านในหมู่ที่ 1-12 ตำบลหนองอิรุณ เดินทางมาลงทะเบียนเพื่อเข้ารับฟังความคิดเห็นและร่วมลงคะแนนประชาพิจารณ์การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะกันอย่างคับคั่ง
                เมื่อเข้าสู่การทำประชาพิจารณ์ นายจิรวุฒิ สิงโตทอง อดีต ส.ส.จังหวัดชลบุรี พร้อมด้วยตัวแทนของบริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ IEC บริษัทที่สร้างโรงไฟฟ้ากำจัดขยะ ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งมีประสบการณ์ในด้านการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ได้ขึ้นชี้แจง และตอบข้อซักถามของประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะตามมา และประเด็นของผลประโยชน์ที่อาจแอบแฝง
               จากนั้นได้เปิดให้ชาวบ้านได้ร่วมกันลงคะแนนว่าสนับสนุน หรือคัดค้าน โดยการนำสายรัดข้อมือสีเขียวหย่อนลงในกล่อง ซึ่งผลปรากฏว่า คะแนนออกมาเป็นเอกฉันท์ มีผู้เห็นด้วย 528 คะแนน และผู้ไม่เห็นด้วยเพียง 19 คะแนน
               อย่างไรก็ตาม การทำประชาพิจารณ์ครั้งนี้ ในช่วงแรกเป็นไปด้วยความตึงเครียด ได้มีประชาชนตั้งคำถามถึงข้อเสีย และผลกระทบต่างๆของการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะ จำนวนหลายราย ได้ผลสรุปโดยใช้กระบวนการ Gasification คือ ระบบที่ทำให้เกิดปฏิกรณ์เคมีโดยเป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางเคมี และฟิสิกส์ที่ซับซ้อนเกิดขึ้นภายใต้กระบวนการต่างๆ โดยจะสามารถจัดการขยะตั้งแต่ 50 ตัน ไปจนถึง 500 ตันต่อวัน
               นายจิรวุฒิ สิงห์โตทอง ได้ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวภายหลังการลงประชาพิจารณ์เสร็จสิ้นว่า หมดหน้าที่ของตนเองแล้ว หลังจากนี้ เป็นหน้าที่ของบริษัทฯ ในการทำหนังสือยื่นถึง อบต.หนองอิรุณ และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อขออนุญาตก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ และในวันนี้ก็ได้ตอบข้อซักถามของชาวบ้านด้วยความเข้าใจ และครบถ้วนทุกประเด็น ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงอย่างแน่นอน ในขณะที่มีการทำประชาพิจารณ์ ได้มีกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วย ชูป้ายคัดค้าน ด้านหน้าของทางเข้า แสดงความไม่พอใจ แต่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ท่ามกลางการรักษาความสงบ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหาร คอยคุมสถานการณ์
               หลังจากการทำประชาพิจารณ์ทางองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอิรุณ ได้เสนอโครงการให้ดำเนินไปตามขั้นตอน เมื่อโครงการอยู่ในระดับจังหวัด ทางจังหวัดกลับกล่าวว่ามีผู้ร้องเรียน จึงไม่สามารถดำเนินการต่อได้ อ...จึงอยากให้ทางจังหวัดเร่งดำเนินการเพราะบ่อขยะในพื้นที่ของตนในตอนนี้เกินความจุแล้วเนื่องจากเปิดใช้ทิ้งขยะชุมชนมากว่า 15 ปีมาแล้ว
               นายจิรวุฒิ  สิงห์โตทอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ต้องการให้นายเชาวลิต แสงอุทัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีที่กำกับดูแลเรื่องนี้อยู่ออกมาตรวจสอบ และในตอนนี้ทางบริษัทได้ทำการร่างหนังสือและจะนำหนังสือไปยื่น พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้ พล.อ.ประยุทธ์ ใช้ ม.44 สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้า หรือไม่ก็ให้ตั้งคณะทำงานร่วมมาทำการตรวจสอบคณะกรรมการในระดับจังหวัดต่อไป
               นายจิรวุฒิ สิงห์โตทอง ก็ได้รับการร้องเรียนว่าเป็นผู้มีอิทธิพล บังคับ ข่มขู่ ให้ชาวบ้านลงคะแนนเสียงเห็นด้วย โดยเขายืนยันว่าไม่ได้ใช้อำนาจ ยินดีให้การตรวจสอบ และห่างจากบ่อขยะ 500 เมตรพบ นางสมพิศ ต้นมงคล 58 ปี ชาวบ้านหมู่4 อาชีพขายของชำ ใกล้บ่อขยะ วอนเจ้าหน้าที่เร่งก่อสร้าง เพราะได้รับความเดือดร้อนมานานหลายปี ทั้งกลิ่นเหม็น เศรษฐกิจค้าขาย มีรถขยะทั่วทุกพื้นที่ในจังหวัดนำขยะมาถมเป็นกองสูงกว่า 3 เมตร มีการนำขยะมาทิ้งวันละไม่น้อยกว่า 270 ตัน และส่งกลิ่นคลุ้งคลั้งอย่างมาก

               ในวันที่ 30 มีนาคม 2558  มีกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยได้ร้องเรียนกับรายการสถานีประชาชน
               คัดค้านว่าเป็นห่วงในเรื่องมลพิษและปริมาณขยะที่จะมารวมอยู่ในชุมชน จากการสอบถามชาวบ้านที่เห็นด้วย ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่ทราบข้อมูลโดยระเอียดของการบวนการดำเนินงาน และการผลิตของโรงงาน แต่ชาวบ้านเชื่อมั่นในโครงการของรัฐบาล และเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ชุมชน และมีชาวบ้านที่ไม่มั่นใจผลกระทบ ออกมาชูป้ายคัดค้าน เห็นว่าไม่เหมาะสม ขอต่อสู้ให้เห็นความชัดเจนกว่านี้ กังวลผลกระทบทั้งด้านมลพิษและด้านอื่นๆ เนื่องจากโรงงานมีรั้วติดกับบ้านของชาวบ้าน อยู่ใจกลางชุมชน ชาวบ้านหลายคนตั้งคำถามว่าทำไมต้องเป็นที่นี่ บริษัทพร้อมพูดคุยกับกลุ่มผู้คัดค้าน และยืนยันให้ตรวจสอบว่าเป็นนโยบายที่โปร่งใส สามารถเข้าตรวจสอบ และติดป้ายหน้าโรงงานให้ชาวบ้านรับทราบ จะมีการนำขยะเข้าสู่กระบวนการคัดแยก ก่อนจะตัดขยะให้มีขนาดเล็กลง และลดความชื้นให้เหลือไม่เกิน ร้อยละ 20 นำเข้าสู้กระบวนการ Gasification โดยใช้ความร้อนสูง เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยโรงงานแห่งนี้จะต้องการขยะปริมาณ 400 ร้อยตัน ต่อวัน และจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ที่ 6 เมกะวัตต์

การสัมภาษณ์ในรายการสถานีประชาชน




               ผู้ให้สัมภาษณ์ คือ แกนนำ คุณชำนัญ  ศิริรักษ์ เห็นว่าไม่โปร่งใสตั้งแต่เริ่ม เช่น ไม่มีการส่งแบบโครงการให้ชุมชนทราบ ไม่บอกกรรมวิธี เครื่องจักร และชาวบ้านยังไม่ทราบที่ตั้งตอนแรก การรับฟังความคิดเห็นไม่มีการกำหนดร่วงหน้า 15 วันตั้งแต่แรก ไม่มีการรับฟัง และไม่มีการแจ้งเหตุผล ส่งผลให้เมื่อชาวบ้านไปรับฟังอาจจะไม่ชัดเจน การให้ข้อมูล การตอบคำถามค่อนข้างไม่ชัดเจน เช่น การคัดแยกขยะ 400 ตันทำอย่างไร เขาตอบว่าใช้คนในการคัดแยก ทำให้เห็นว่าจะเกิดขยะกองอีกหนึ่งแห่ง ทำให้ขยะตกค้าง ส่วนท้องถิ่นยังไม่มีการเข้ามา ทำให้ชาวบ้านยังเกิดข้อสงสัยอยู่ ทำให้ผู้คัดค้าน ต้องส่งเรื่องถึงจังหวัด เลยมาร้องเรียนที่รายการ
               ผอ.สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาคที่ 13 สุวรรณ นันทศรุต ให้ข้อมูลการจัดการขยะของจังหวัดชลบุรี และเกี่ยวกับนโยบายแผนแม่บทการจัดการขยะ ถ้าหากเรื่องผลกระทบ ข้อมูลที่ทางหน่วยมีคือ เกี่ยวกับระบบ gasificationซึ่งเตาเผาตัวนี้ จะคล้ายๆ เคยมีการเดินระบบที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แต่ในตัวเทคโนโลยีจะแตกต่างจากที่ภูเก็ต ขบวนการในการบริหารจัดการ เนื่องจากเตาเผาที่ใช้มีการขายและมีในเรื่อง พ... โรงงาน การขอจัดตั้ง พ..บ โรงงานมีการควบคุมดูแลคุณภาพอากาศ ระยะห่างจากชุมชน และเรื่องการเปิดเวทีฟังความเห็น เนื่องจากโครงการที่มาเร็วและประชาชนยังไม่เข้าใจ และตัวโครงการมียังเร็วเกินไป ทางภาคเอกชนและทางท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอิรุณ ควรจะมีการประชุมชี้แจงกับจังหวัดอย่างเป็นระบบ และคณะกรรมการจัดการแผนการจัดการขยะของจังหวัด และเชิญตัวแทนของพี่น้องประชาชน เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงข้อมูลเชิงลึกกว่านี้ เนื่องด้วยเป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งดูแล้วน่าจะเป็นหลักการที่ดี น่าจะดูสภาพแวดล้อมทั่วไป รวมทั้งศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมและทำ EIA ให้เป็นระบบ
               วันชัย พนมชัย (อุตสาหกรรมจังหวัด) เมื่อเรื่องยังไม่ถึงอุตสาหกรรมจังหวัด แต่เป็นเรื่องที่ดีที่มีการทำประชาคมก่อน แต่เมื่อยังไม่มีการไม่เห็นด้วยก็ยังดำเนินการไม่ได้
               คุณชำนัญ  ศิริรักษ์ (แกนนำ) ฝากบอกผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจ การเกิดโรงงานไฟฟ้าหลายๆจังหวัด ควรจะต้องดูถึงชุมชนด้วย เนื่องจารวะระที่เกิดขึ้น เป็นการดำเนินการโดยที่ไม่ได้มองถึงผลกระทบข้างเคียง อยากจะฝากผู้ใหญ่หลายๆท่าน เพราะการเกิดโรงงานในรูปแบบนี้ ก็ก่อให้เกิดการแตกแยกในหลายๆแห่ง

               บริษัท อินเตอร์เนชั่นเนิลเอนจิเนียริ่ง จำกัด(มหาชน)

               จากผลสรุปดังกล่าวบริษัทได้เห็นว่ายังมีผู้ไม่เห็นด้วย ทางบริษัทจึงมีแนวทางที่จะขจัดปัญหาความเดือดร้อน โดยย้ายที่ตั้งของโครงการไปยังนิคมอุตสาหกรรม บ้านบึง และบริษัทของยืนยันว่า ในการกระทำประชาพิจารณ์ครั้งนี้ มีเพียงโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนขยะของชุมชนเท่านั้น ไม่รวมถึงโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนก๊าซชีวภาพ ตามเอกสารที่ทางบริษัทได้จัดทำขึ้น และในเอกสารของบริษัทฯมีโรงงานพลังงานทดแทนก๊าซชีวภาพ เนื่องจากเป็นโครงการในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้น และหากมีการก่อตั้งขึ้นจริงทางบริษัทจะจัดตั้งการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะของประชาชนในการพิจารณาโครงการฯ อีกครั้ง หากมีผู้ใดมีข้อสงสัย หรือข้อซักถาม โปรดติดต่อเข้ามาทาง ดร.ภูษณ ปรีมาโนช ประธานกรรมการบริษัท อินเตอร์เนชั่นเยิลเอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น