วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กรณีศึกษาการจัดการความขัดแย้ง :การก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากขยะชุมชนเพื่อแก้ปัญหาขยะล้นเมือง

เรื่องราวความขัดแย้ง

สถานที่ : ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

เหตุการณ์ : การรวมตัวกันของชาวบ้านในพื้นที่และนอกพื้นที่จำนวนหนึ่ง ที่คัดค้านและทำการร้องเรียนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากขยะ เนื่องจากกังวลถึงมลพิษและปริมาณขยะจำนวนมากที่จะเข้ามาสู่ชุมชน และปัญหาอื่นๆตามมา แต่ก็มีชาวบ้านจำนวนหนึ่งสนับสนุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากขยะ

การสร้าง : โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากขยะชุมชน ขนาดกำลังการผลิต 6 เมกะวัตต์

สถานที่ก่อสร้าง : ก่อสร้างในพื้นที่ หมู่ 2 บ้านเขาไผ่  ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

บริษัท :บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด(มหาชน)

ก่อสร้างเพื่อ : เพื่อแก้ปัญหาขยะตกค้างจำนวนหลายล้านตันในจังหวัดชลบุรี ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนงานโครงการโรงงานขยะ แปรรูปขยะ ทั้งในส่วนของภูมิภาคและท้องถิ่น และแปรสภาพขยะเป็นวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้า กำลังผลิตไฟฟ้า 6 เมกะวัตต์ สำหรับ 4500 หลังคาเรือน คาดว่าสร้างแล้วเสร็จ 18 เดือน

จากเหตุการณ์ : นโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ได้วางโรดแมปไว้แล้ว และเป็นหนทางเดียวที่สามารถแก้ปัญหาขยะได้อย่างยั่งยืนที่ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนงานโครงการโรงงานขยะ แปรรูปขยะ ทั้งในส่วนของภูมิภาคและท้องถิ่น บริษัทอินเตอร์เนชั่นเนิลเอนจิเนียริ่ง จำกัด(มหาชน) ได้มีโครงการสร้าง โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากขยะชุมชน ขนาดกำลังการผลิต 6 เมกะวัตต์ ในพื้นที่ก่อสร้างในพื้นที่ หมู่ 2 บ้านเขาไผ่  ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี และได้มีการจัดเวทีประชาพิจารณ์ของชาวบ้านตำบลหนองอิรุณ เพื่อให้สมาชิกชุมชนในพื้นที่ รับทราบและแสดงความเห็นชอบ กับโครงการ วันที่  22 มีนาคม 2558 ที่สมาคมกลุ่มอาชีพการเกษตรชลบุรี ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ชาวบ้านในหมู่ที่ 1-12 ตำบลหนองอิรุณ เดินทางมาลงทะเบียนเพื่อเข้ารับฟังความคิดเห็นและร่วมลงคะแนนประชาพิจารณ์การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะกันอย่างคับคั่ง
                เมื่อเข้าสู่การทำประชาพิจารณ์ นายจิรวุฒิ สิงโตทอง อดีต ส.ส.จังหวัดชลบุรี พร้อมด้วยตัวแทนของบริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ IEC บริษัทที่สร้างโรงไฟฟ้ากำจัดขยะ ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งมีประสบการณ์ในด้านการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ได้ขึ้นชี้แจง และตอบข้อซักถามของประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะตามมา และประเด็นของผลประโยชน์ที่อาจแอบแฝง
               จากนั้นได้เปิดให้ชาวบ้านได้ร่วมกันลงคะแนนว่าสนับสนุน หรือคัดค้าน โดยการนำสายรัดข้อมือสีเขียวหย่อนลงในกล่อง ซึ่งผลปรากฏว่า คะแนนออกมาเป็นเอกฉันท์ มีผู้เห็นด้วย 528 คะแนน และผู้ไม่เห็นด้วยเพียง 19 คะแนน
               อย่างไรก็ตาม การทำประชาพิจารณ์ครั้งนี้ ในช่วงแรกเป็นไปด้วยความตึงเครียด ได้มีประชาชนตั้งคำถามถึงข้อเสีย และผลกระทบต่างๆของการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะ จำนวนหลายราย ได้ผลสรุปโดยใช้กระบวนการ Gasification คือ ระบบที่ทำให้เกิดปฏิกรณ์เคมีโดยเป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางเคมี และฟิสิกส์ที่ซับซ้อนเกิดขึ้นภายใต้กระบวนการต่างๆ โดยจะสามารถจัดการขยะตั้งแต่ 50 ตัน ไปจนถึง 500 ตันต่อวัน
               นายจิรวุฒิ สิงห์โตทอง ได้ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวภายหลังการลงประชาพิจารณ์เสร็จสิ้นว่า หมดหน้าที่ของตนเองแล้ว หลังจากนี้ เป็นหน้าที่ของบริษัทฯ ในการทำหนังสือยื่นถึง อบต.หนองอิรุณ และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อขออนุญาตก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ และในวันนี้ก็ได้ตอบข้อซักถามของชาวบ้านด้วยความเข้าใจ และครบถ้วนทุกประเด็น ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงอย่างแน่นอน ในขณะที่มีการทำประชาพิจารณ์ ได้มีกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วย ชูป้ายคัดค้าน ด้านหน้าของทางเข้า แสดงความไม่พอใจ แต่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ท่ามกลางการรักษาความสงบ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหาร คอยคุมสถานการณ์
               หลังจากการทำประชาพิจารณ์ทางองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอิรุณ ได้เสนอโครงการให้ดำเนินไปตามขั้นตอน เมื่อโครงการอยู่ในระดับจังหวัด ทางจังหวัดกลับกล่าวว่ามีผู้ร้องเรียน จึงไม่สามารถดำเนินการต่อได้ อ...จึงอยากให้ทางจังหวัดเร่งดำเนินการเพราะบ่อขยะในพื้นที่ของตนในตอนนี้เกินความจุแล้วเนื่องจากเปิดใช้ทิ้งขยะชุมชนมากว่า 15 ปีมาแล้ว
               นายจิรวุฒิ  สิงห์โตทอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ต้องการให้นายเชาวลิต แสงอุทัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีที่กำกับดูแลเรื่องนี้อยู่ออกมาตรวจสอบ และในตอนนี้ทางบริษัทได้ทำการร่างหนังสือและจะนำหนังสือไปยื่น พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้ พล.อ.ประยุทธ์ ใช้ ม.44 สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้า หรือไม่ก็ให้ตั้งคณะทำงานร่วมมาทำการตรวจสอบคณะกรรมการในระดับจังหวัดต่อไป
               นายจิรวุฒิ สิงห์โตทอง ก็ได้รับการร้องเรียนว่าเป็นผู้มีอิทธิพล บังคับ ข่มขู่ ให้ชาวบ้านลงคะแนนเสียงเห็นด้วย โดยเขายืนยันว่าไม่ได้ใช้อำนาจ ยินดีให้การตรวจสอบ และห่างจากบ่อขยะ 500 เมตรพบ นางสมพิศ ต้นมงคล 58 ปี ชาวบ้านหมู่4 อาชีพขายของชำ ใกล้บ่อขยะ วอนเจ้าหน้าที่เร่งก่อสร้าง เพราะได้รับความเดือดร้อนมานานหลายปี ทั้งกลิ่นเหม็น เศรษฐกิจค้าขาย มีรถขยะทั่วทุกพื้นที่ในจังหวัดนำขยะมาถมเป็นกองสูงกว่า 3 เมตร มีการนำขยะมาทิ้งวันละไม่น้อยกว่า 270 ตัน และส่งกลิ่นคลุ้งคลั้งอย่างมาก

               ในวันที่ 30 มีนาคม 2558  มีกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยได้ร้องเรียนกับรายการสถานีประชาชน
               คัดค้านว่าเป็นห่วงในเรื่องมลพิษและปริมาณขยะที่จะมารวมอยู่ในชุมชน จากการสอบถามชาวบ้านที่เห็นด้วย ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่ทราบข้อมูลโดยระเอียดของการบวนการดำเนินงาน และการผลิตของโรงงาน แต่ชาวบ้านเชื่อมั่นในโครงการของรัฐบาล และเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ชุมชน และมีชาวบ้านที่ไม่มั่นใจผลกระทบ ออกมาชูป้ายคัดค้าน เห็นว่าไม่เหมาะสม ขอต่อสู้ให้เห็นความชัดเจนกว่านี้ กังวลผลกระทบทั้งด้านมลพิษและด้านอื่นๆ เนื่องจากโรงงานมีรั้วติดกับบ้านของชาวบ้าน อยู่ใจกลางชุมชน ชาวบ้านหลายคนตั้งคำถามว่าทำไมต้องเป็นที่นี่ บริษัทพร้อมพูดคุยกับกลุ่มผู้คัดค้าน และยืนยันให้ตรวจสอบว่าเป็นนโยบายที่โปร่งใส สามารถเข้าตรวจสอบ และติดป้ายหน้าโรงงานให้ชาวบ้านรับทราบ จะมีการนำขยะเข้าสู่กระบวนการคัดแยก ก่อนจะตัดขยะให้มีขนาดเล็กลง และลดความชื้นให้เหลือไม่เกิน ร้อยละ 20 นำเข้าสู้กระบวนการ Gasification โดยใช้ความร้อนสูง เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยโรงงานแห่งนี้จะต้องการขยะปริมาณ 400 ร้อยตัน ต่อวัน และจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ที่ 6 เมกะวัตต์

การสัมภาษณ์ในรายการสถานีประชาชน




               ผู้ให้สัมภาษณ์ คือ แกนนำ คุณชำนัญ  ศิริรักษ์ เห็นว่าไม่โปร่งใสตั้งแต่เริ่ม เช่น ไม่มีการส่งแบบโครงการให้ชุมชนทราบ ไม่บอกกรรมวิธี เครื่องจักร และชาวบ้านยังไม่ทราบที่ตั้งตอนแรก การรับฟังความคิดเห็นไม่มีการกำหนดร่วงหน้า 15 วันตั้งแต่แรก ไม่มีการรับฟัง และไม่มีการแจ้งเหตุผล ส่งผลให้เมื่อชาวบ้านไปรับฟังอาจจะไม่ชัดเจน การให้ข้อมูล การตอบคำถามค่อนข้างไม่ชัดเจน เช่น การคัดแยกขยะ 400 ตันทำอย่างไร เขาตอบว่าใช้คนในการคัดแยก ทำให้เห็นว่าจะเกิดขยะกองอีกหนึ่งแห่ง ทำให้ขยะตกค้าง ส่วนท้องถิ่นยังไม่มีการเข้ามา ทำให้ชาวบ้านยังเกิดข้อสงสัยอยู่ ทำให้ผู้คัดค้าน ต้องส่งเรื่องถึงจังหวัด เลยมาร้องเรียนที่รายการ
               ผอ.สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาคที่ 13 สุวรรณ นันทศรุต ให้ข้อมูลการจัดการขยะของจังหวัดชลบุรี และเกี่ยวกับนโยบายแผนแม่บทการจัดการขยะ ถ้าหากเรื่องผลกระทบ ข้อมูลที่ทางหน่วยมีคือ เกี่ยวกับระบบ gasificationซึ่งเตาเผาตัวนี้ จะคล้ายๆ เคยมีการเดินระบบที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แต่ในตัวเทคโนโลยีจะแตกต่างจากที่ภูเก็ต ขบวนการในการบริหารจัดการ เนื่องจากเตาเผาที่ใช้มีการขายและมีในเรื่อง พ... โรงงาน การขอจัดตั้ง พ..บ โรงงานมีการควบคุมดูแลคุณภาพอากาศ ระยะห่างจากชุมชน และเรื่องการเปิดเวทีฟังความเห็น เนื่องจากโครงการที่มาเร็วและประชาชนยังไม่เข้าใจ และตัวโครงการมียังเร็วเกินไป ทางภาคเอกชนและทางท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอิรุณ ควรจะมีการประชุมชี้แจงกับจังหวัดอย่างเป็นระบบ และคณะกรรมการจัดการแผนการจัดการขยะของจังหวัด และเชิญตัวแทนของพี่น้องประชาชน เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงข้อมูลเชิงลึกกว่านี้ เนื่องด้วยเป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งดูแล้วน่าจะเป็นหลักการที่ดี น่าจะดูสภาพแวดล้อมทั่วไป รวมทั้งศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมและทำ EIA ให้เป็นระบบ
               วันชัย พนมชัย (อุตสาหกรรมจังหวัด) เมื่อเรื่องยังไม่ถึงอุตสาหกรรมจังหวัด แต่เป็นเรื่องที่ดีที่มีการทำประชาคมก่อน แต่เมื่อยังไม่มีการไม่เห็นด้วยก็ยังดำเนินการไม่ได้
               คุณชำนัญ  ศิริรักษ์ (แกนนำ) ฝากบอกผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจ การเกิดโรงงานไฟฟ้าหลายๆจังหวัด ควรจะต้องดูถึงชุมชนด้วย เนื่องจารวะระที่เกิดขึ้น เป็นการดำเนินการโดยที่ไม่ได้มองถึงผลกระทบข้างเคียง อยากจะฝากผู้ใหญ่หลายๆท่าน เพราะการเกิดโรงงานในรูปแบบนี้ ก็ก่อให้เกิดการแตกแยกในหลายๆแห่ง

               บริษัท อินเตอร์เนชั่นเนิลเอนจิเนียริ่ง จำกัด(มหาชน)

               จากผลสรุปดังกล่าวบริษัทได้เห็นว่ายังมีผู้ไม่เห็นด้วย ทางบริษัทจึงมีแนวทางที่จะขจัดปัญหาความเดือดร้อน โดยย้ายที่ตั้งของโครงการไปยังนิคมอุตสาหกรรม บ้านบึง และบริษัทของยืนยันว่า ในการกระทำประชาพิจารณ์ครั้งนี้ มีเพียงโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนขยะของชุมชนเท่านั้น ไม่รวมถึงโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนก๊าซชีวภาพ ตามเอกสารที่ทางบริษัทได้จัดทำขึ้น และในเอกสารของบริษัทฯมีโรงงานพลังงานทดแทนก๊าซชีวภาพ เนื่องจากเป็นโครงการในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้น และหากมีการก่อตั้งขึ้นจริงทางบริษัทจะจัดตั้งการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะของประชาชนในการพิจารณาโครงการฯ อีกครั้ง หากมีผู้ใดมีข้อสงสัย หรือข้อซักถาม โปรดติดต่อเข้ามาทาง ดร.ภูษณ ปรีมาโนช ประธานกรรมการบริษัท อินเตอร์เนชั่นเยิลเอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)







ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(stakeholders)

·      ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง ( Primary stakeholder )
1. บริษัท อินเตอร์เนชั่นเนิลเอนจิเนียริ่ง จำกัด(มหาชน)
2. ชาวบ้านพื้นที่ หมู่ 2 บ้านเขาไผ่ ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี รัศมี 5 กิโลเมตร
3. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอิรุณ

·      ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอง ( Secondary stakeholders ) 
1. นักการเมืองท้องถิ่น 
2. ชาวบ้านนอกพื้นที่การก่อสร้างโรงงานฯองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
3. ทหาร
4. สื่อ

·      ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก ( Key stakeholders )
1. รัฐบาล
2. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอิรุณ

Conflict Timeline

Conflict Timeline

  • มกราคม 2558      :    มีการทราบเรื่องว่าจะสร้างโรงงานไฟฟ้าบ้านบึง

  • กุมภาพันธ์ 2558   :   มีการทำประชาคมครั้งแรกแต่ไม่ผ่าน

  •  มีนาคม 2558   :     มีการทำประชาคมครั้งที่สอง แต่ย้ายไปทำที่ตำบลอื่นแทน มีการคัดค้านตั้งป้ายประท้วง ไม่เห็น  ด้วยกับการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะมีการเปิด Facebook โรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะบ้านบึง โอกาสหรือหายนะ ของสิ่งแวดล้อมมีการเดินทางไปขอความ ช่วยเหลือจาก รายการ สถานีประชาชน ตัวแทนผู้คัดค้านยื่นหนังสือคัดค้านมติประชาคม ทางท่านผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ท่านคมสันเอกชัย ได้ออกมารับหนังสือด้วยตนเองและยืนยันว่าจะอยู่ข้างประชาชนและความถูกต้องแน่นอน พร้อมฝากถึงประชาชนอย่ากังวลเพราะ กระบวนการนี้จังหวัดยังไม่รับเรื่องเพื่อพิจารณาจากทางโรงงาน

  • หลังจากมีนาคม 2558     :       มีการทำ EIA การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของสำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 





วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ภาระกิจ

ภารกิจที่1 อธิบายปัญหา

1.ปัญหาที่ต้องการศึกษา

  • ความขัดแย้งการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากขยะชุมชนเพื่อแก้ปัญหาขยะล้นเมือง การไม่ยอมรับให้จัดตั้งโรงงานไฟฟ้าของคนในชุมชน

2.ปัญหานี้มีความร้ายแรงเพียงใด สำหรับชุมชน

  • ในกรณีที่หากยังไม่มีการสร้างโรงงานขยะขึ้น ปัญหาขยะล้นเมืองก็จะตกค้างอยู่แต่ในบ่อขยะบริเวณที่ชุมชน ซึ่งหากไม่สร้างโรงงานขึ้น พื้นที่ที่เก็บขยะก็จะไม่พอ จะนำพาให้เกิดปัญหาล้นและมีกลิ่นเหม็น สามารถลุกลามไปถึงปัญหาหลายๆอย่าง เช่น ปัญหาเศรษฐกิจในชุมชน เป็นต้น
  • ในกรณีที่สร้างโรงงานขยะขึ้นในอนาคต ทางชุมชนได้มองเห็นถึงปัญหาที่จะตามมาคือ มลพิษจากการเผาขยะทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ และปริมาณขยะที่นำเข้ามาในชุมชนที่มากเกินไป
  • ในกรณีของความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มผู้คัดค้านการสร้างโรงงาน กับผู้ที่เห็นด้วย มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยชูป้ายคัดค้าน การส่งเสียงไม่พอใจ เกิดความไม่สงบในชุมชน การสร้าง Page Facebook ต่อต้านเกิดความเสียหายกับหน่วยงานต่างๆ เช่น บริษัทฯที่ก่อตั้งโรงงาน

3.ปัญหานี้มีการแพร่กระจายไปยังชุมชนอย่างไร

  • ในส่วนของเอกชนมีการจะจัดตั้งโรงงานไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากขยะในชุมชน ทำให้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลได้ส่งจดหมายทำประชาคมให้กับชาวบ้านซึ่งเป็นเจ้าบ้าน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ มารับทราบข้อมูล พร้อมทั้งลงประชาพิจารณ์รับการจัดตั้งโรงงานไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากขยะ และมีผู้รวมตัวกันคัดค้าน

4.ทำไมรัฐบาลต้องจึงควรเข้ามาดูแลปัญหานี้

  • เพราะรัฐบาลมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบดูแลประชาชน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด จะคัดค้านหรือสนับสนุน รัฐบาลก็ควรจะเข้ามาดูแลเข้ามาตรวจสอบและให้ข้อมูลกับประชาชน เพื่อสร้างความมั่นใจและ เชื่อใจให้กับประชาชน ซึ่งรัฐมีสิทธิในการตัดสินใจหลายๆด้าน และมีความเป็นกลาง

5.มีใครบ้างในชุมชนที่ควรเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหานี้

  • ผู้นำชุมชนและประชาชนในชุมชมควรมีการร่วมมือกัน มาศึกษาความเป็นมาของโครงการนี้โดยละเอียดในรอบๆด้าน โดยที่สร้างความเข้าใจและข้อมูลที่เท็จจริงให้กับคนในชุมชนให้ได้รับรู้เรื่องราวข่าวสารผลกระทบต่างๆทั้งข้อดีและข้อเสียในการจัดตั้งโรงงานขยะ เมื่อได้รับข้อมูลอย่างทั่วถึงก็จะสามารถร่วมประชุมแก้ไขปัญหาได้ว่าควรจะสรุปผลอย่างไรให้เป็นในเรื่องที่ถูกต้องได้ในอนาคต

6.มีกฎหมายหรือนโยบายใดที่จะจัดการกับปัญหา

  •  ด้านการสร้างโรงงานฯ รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนการผลิต และการใช้พลังงานทดแทนในภาคการผลิตไฟฟ้าเพราะปัจจุบันพลังงานที่นำมาผลิตกระแสไฟฟ้ามีอยู่อย่างจำกัด และขาดแคลน รวมถึงสถานการณ์ด้านพลังงานของประเทศไทย และทั่วโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้นำสาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 .. 2555-2559 กำหนดเป็นนโยบายด้านพลังงานและได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ วันที่ 12 กันยายน 2557
  • สำหรับปัญหาของขยะการนำนโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน ให้มีความสมดุลของการใช้ประโยชน์
  • เกี่ยวกับปัญหาผู้คัดค้าน จนเกิดการคิดแย้งกันแก้ปัญหาโดยการเปิดรับฟังความคิดเห็น และมีการตรวจสอบ EIA เพื่อความพอใจของทั้งสองฝ่าย

7.กฎหมายที่มีอยู่แล้วเพียงพอที่จะแก้ปัญหาหรือไม่

  • หากกล่าวถึงกฎหมายนั้นมีความเพียงพอ เพราะการจะจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานขยะของชุมชนจะต้องมีกระบวนการตรวจสอบทุกขั้นตอนอย่างถูกต้อง และเป็นไปในทางสุจริต รวมไปถึงเรื่องความปลอดภัยของประชาชนในชุมชนที่จะได้รับผลกระทบต่างๆ ที่ปัจจุบันยังไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ เป็นต้น ดังนั้นจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่ถูกต้อง แต่ในทางกลับกัน ปัจจุบันความเชื่อใจของประชาชนเกี่ยวกับข้อกำหนดกฎหมายในสังคมลดน้อยลง เนื่องจากมีการฉ้อโกง ทุจริตให้เห็นมากในสังคมไทย จึงเห็นได้ว่า กฎหมายนั้นเพียงพอแต่ การนำมาใช้ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

8.ชุมชนของเรามีความคิดเห็นอย่างไรบ้างเกี่ยวกับปัญหานี้ และมีการเสนอทางออกหรือไม่ อย่างไร

  • ในกรณีของฝ่ายคัดค้าน เสนอถึงการตรวจสอบบริษัทโรงไฟฟ้าอย่างละเอียด เพราะว่าทางโรงงานไม่ได้แจ้งข้อมูลการสร้าง พื้นที่การสร้างและการกำจัดขยะในแต่ละวันแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด เหมือนกันยังไม่โปร่งใส ทางแกนนำจึงเสนอทางออกโดยการยกเลิกการที่จะสร้างโรงงานไปก่อนและมานำเสนอข้อมูลที่เป็นจริงให้กับประชาชน
  • ในกรณีของผู้สนับสนุน เสนอว่าปัจจุบันชุมชนมีพื้นที่จัดเก็บขยะซึ่งปัจจุบันมีกลิ่นเหม็นและเกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมาคือโรคจากฉี่หนูหรือจากแมลงสาบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีกับประชาชนบริเวณใกล้เคียงกับบ่อขยะ ทั้งนี้เลยเห็นว่าการที่จะจัดตั้งโรงงานไฟฟ้าพลังงานจากขยะของชุมชนมีความเหมาะสม เพียงแต่ยังต้องการข้อมูลข่าวสารต่างๆอย่างละเอียด

9.มีบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรใดบ้างในชุมชนที่สนใจปัญหานี้

  • กลุ่มแกนนำคัดค้าน เป็นกลุ่มที่สนใจปัญหานี้และศึกษาปัญหานี้อย่างเดียว มีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพร้อมทั้งรวมรวบคนในชุมชนมา

10.มีหน่วยงานรัฐใดบ้างที่มีหน้าที่รับผิดชอบในปัญหานี้ เพราะอะไร

  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอิรุณ เป็นหน่วยงานติดต่อประสานงานทั้งบริษัทเอกชนและประชาชนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย พร้อมทั้งเป็นส่วนกลางในการจัดการจัดตั้งประชาพิจารณ์ให้กับประชาชน เพราะพื้นที่ที่บริษัทจะมาจัดตั้งโรงงานไฟฟ้าพลังงานทดแทนจากขยะ เป็นพื้นที่ที่อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองอิรุณ
  •  องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ดูแลประชาชนในเขตพื้นจังหวัดชลบุรี รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ที่ไม่เห็นด้วย
  • อุตสาหกรรมจังหวัด รับเรื่องโครงการจากบริษัทฯ เพื่อดำเนินโครงการ
  • รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี กล่าวเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องเร่งแก้ไข โดยวาง โรดแม็ปการกำจัดขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายให้หมดไปในระยะเร่งด่วนและระยะยาว โดยเผาขยะมาผลิตไฟฟ้าเรียกว่า โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ

11.มีรัฐบาลทำอะไรเกี่ยวกับปัญหานี้

  • รัฐบาลสั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีดำเนินตรวจสอบการสร้างโรงไฟฟ้า โดยให้สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยการตรวจสอบว่าเป็นโครงการที่จะมีผลกระทบเชิงลบ หรือเชิงบวกมาน้อยเพียงใด และนโยบายมีความโปร่งใสหรือไม่ สามารถตรวจสอบกระบวนการต่างๆได้ แต่หากเกิดผลกระทบในเชิงลบในเวลาต่อมาอนาคตก็สามารถผลักดันให้โรงงานปิดไปในที่สุด หรือหากไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และดำเนินการอย่างโปร่งใส อาจจะมีการทำประชาพิจารณ์ ถามข้อคิดเห็นของประชาชน และก็จะมีการดำเนินการโครงการต่อ

ภารกิจที่ 2 การตรวจสอบนโยบาย

1.มีนโยบายอะไรบ้างที่เป็นทางเลือกสำหรับการจัดการจัดการกับปัญหานี้

                1.1 นโยบายที่ใช้ในปัจจุบัน

  • มีการทำ EIA (Environmental Impact Assessment) ให้สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้ามาตรวจสอบผลกระทบด้านมลภาวะทางอากาศจากการสร้างโรงงานที่มีต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ชุมชน โดยใช้หลักวิชาการในการทำนายหรือคาดการณ์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบของการดำเนินโครงการพัฒนา ที่จะมีผลต่อสิ่งแวดล้อมในทุกๆ ด้าน ทั้งทางทรัพยากรธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อจะได้หาทางป้องกันผลกระทบในทางลบที่อาจเกิดขึ้นให้เกิดน้อยที่สุด

                1.2 นโยบาย/แนวทางที่บุคคล กลุ่มบุคคลในชุมชนเสนอ: แบ่งเป็น 2 กลุ่ม มีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

  • กลุ่มที่เห็นด้วยก็จะสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะเพราะโรงไฟฟ้าจากขยะเพราะเห็นว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะช่วยลดปริมาณขยะในชุมชนลงได้
  • กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยก็จะคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าขยะเพราะกลัวจะเกิดมลพิษทางอากาศและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีตัวอย่างโรงไฟฟ้าจากขยะในประเทศไทยที่เคยทำขึ้นก่อนหน้านี้และต้องปิดตัวไปด้วยปัญหาเรื่องงบประมาณ

                1.3 นโยบาย/แนวทางที่มีการแสดงความเห็นในชั้นเรียน

  • ควรให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างอบต.และชาวบ้านทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าขยะให้เข้าใจถึงข้อดี ข้อเสีย ผลกระทบ เพื่อให้สามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น นำเสนอข้อมูล ข้อโต้แย้ง หรือข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบน้ำข้อเสนอแนะไปพิจารณาการดำเนินงาน


2.ข้อดีของนโยบาย/แนวทางดังกล่าว
:

ข้อดี
  •  สามารถใช้ในการวางแผนการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและจะช่วยในการมองปัญหาต่างๆ ได้กว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิมที่มองเพียงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นประเด็นหลัก อันก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมแก่ทรัพยากรธรรมชาติตามมา
  • พิจารณาถึงผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความรุนแรงจากการพัฒนาโครงการ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถหามาตรการในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นนั้นอย่างเหมาะสมก่อนดำเนินการ
  • สามารถคาดการณ์ประเด็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการโดยเลือกมาตรการที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติและค่าใช้จ่ายน้อย เป็นข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการลงทุนหรือพัฒนาโครงการ การเตรียมแผนงาน แผนการเงินในการจัดการสิ่งแวดล้อมและสามารถใช้ผลการ ศึกษาเป็นข้อมูลที่จะให้ความ กระจ่างต่อสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันความขัดแย้งของการใช้ทรัพยากรได้ แนวทางกำหนดแผนการติดตามตรวจสอบผลกระทบต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นภายหลังได้เป็นหลักประกันในการใช้ทรัพยากรที่ยาวนาน ( long - term sustainable development )


3.บุคคลที่สนับสนุนแนวทางดังกล่าว

  • นักวิชาการ ชาวบ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้อง

4.บุคคลที่ต่อต้านนโยบายดังกล่าว

  • ยังไม่มีการต่อต้านเกิดขึ้น


ภารกิจที่ 3 การนำเสนอนโยบายสาธารณะ

1.นโยบาย/แนวทางที่กลุ่มเห็นว่าดีที่สุดสำหรับการแก้ปัญหานี้

  •  สำหรับปัญหาของความขัดแย้งระหว่างผู้ที่คัดค้านและบริษัทฯ ควรจะมีการรับฟังความคิดเห็นของทั้งสองฝ่าย การพูดคุยกันรับฟังเหตุและผล โดยใช้หลักวิชาการที่ถูกต้อง เป็นข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบได้ 
  • หากมีการก่อสร้างโรงงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ควรที่จะตรวจสอบผลกระทบทุกๆด้านอย่างระเอียดและโปร่งใส ทางบริษัทฯ ควรที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากขยะให้ระเอียด ในทุกๆขั้นตอน เพื่อให้เกิดความชัดเจน และน่าเชื่อถือ หากมีข้อเสียเล็กน้อยในบางส่วนเกี่ยวกับผลกระทบ บริษัทฯควรที่จะเข้ามารับผิดชอบเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียกับทั้งชาวบ้านและชุมชน
  • หากโครงการถูกยกเลิก กระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควรที่จะเข้าดูแลเกี่ยวกับปัญหาบ่อขยะ อ.บ้านบึง ที่ปัจจุบันกองสูง ส่งกลิ่นเหม็น ทำลายทัศนียภาพ เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจชุมชน และผลกระทบอีกมากมาย จัดตั้งถังขยะเพื่อให้คนในชุมชนรู้จักการแยกขยะ เริ่มจากการแยกขยะในบ้านแต่ละหลังคาเรือน จากจุดเล็กๆ ไปยังจุดใหญ่ๆในชุมชน อบต.ควรจัดทำแผนงานการกำจัดขยะให้ถูกวิธีอย่างจริงจัง การร่วมมือที่ดีระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรืออบต.หนองอิรุณ และชาวบ้าน เพื่อความร่วมมือที่ดีในอนาคต การนำนโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน ให้มีความสมดุลของการใช้ประโยชน์ การถือครอง และการอนุรักษ์ฐานทรัพยากร เร่งรัดการควบคุมมลพิษทางอากาศ ขยะ น้ำเสีย กลิ่น และเสียง ที่เกิดจากการผลิตและบริโภคส่งเสริมให้ภาครัฐและภาคเอกชนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการผลิตวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ โดยการหมุนเวียนการใช้วัตถุดิบและเทคโนโลยีที่สะอาด

2. ข้อดีของนโยบาย/แนวทางของเรา

  • นโยบายที่ทางกลุ่มนำเสนอคือการเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้ทำการศึกษาถึงให้ทราบถึงผลดี ผลเสียที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนและส่งผลกระทบต่อชาวบ้าน องค์กร หรือสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง โดยให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการคือ การทำประชาวิจารณ์เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลดีต่อโครงการคือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำความเห็นที่ได้จากการทำประชาวิจารณ์มาทบทวนและไตร่ตรองเพื่อทำให้โครงการที่กำลังจะสร้างเกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เมื่อทุกฝ่ายได้ข้อสรุปในทิศทางเดียวกันก็สามารถหาทางออกในความขัดแย้งได้อย่างสันติ และมีแนวทางการแก้ไขปัญหาของขยะจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน

3. ข้อท้าทายของนโยบาย/แนวทางของเรา

  • การที่จะนำข้อเสนอแนะหรือทัศนคติของแต่ละบุคคลที่มีความเห็นต่างกันเพื่อที่จะนำมาหาข้อสรุปให้ได้ในทิศทางเดียวกันต้องใช้เวลาและต้องได้รับข้อมูลที่ทุกฝ่ายตกลงยอมรับร่วมกัน และทางหน่วยงานที่มีโครงการจะสร้างโรงไฟฟ้าควรได้รับการสนับสนุนจากคนในพื้นที่อย่างอย่างเต็มใจโดยไม่มีเงื่อนงำจากอิทธิผลต่างๆ

4. หน่วยงานของภาครัฐที่เข้ามาร่วมรับผิดชอบคือ

  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอิรุณ ,องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ,ทหาร , สำนักงานสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมจังหวัด , รัฐบาล

5. นโยบาย/แนวทางที่กลุ่มนำเสนอเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตราใด เพราะเหตุใด

  • พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 67 สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตนย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ จะกระทำมิได้เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน

                เพราะเนื่องจากปัจจุบันจำนวนขยะที่มีเพิ่มมากขึ้นแต่วิธีการขจัดขยะยังไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควรและพื้นที่ที่จะใช้ก็มีอยู่อย่างจำกัดและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็น มลพิษทางกลิ่น มลพิษทางอาการ มลพิษทางน้ำ อื่นๆ และส่งผลกระทบต่อคนในพื้นที่โดยตรง จากการที่รัฐบาลมีนโยบายในการขจัดขยะโดยการสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะนั้นถือว่าเป็นแนวทางที่สามารถจะลดปริมาณขยะได้เป็นจำนวนโดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในกระบวนการขจัดขยะและก่อเป็นกระแสไฟฟ้าได้นั้น ส่งผลในด้านดีและผลเสีย ดังนั้นการนำ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาเป็นแนวทางควบคุมปัญหาและเป็นแนวทางที่จะดำเนินโครงการเพื่อให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องปฏิบัติร่วมกันเพื่อไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆ ต่อชุมชน

ภารกิจที่ 4 การพัฒนาแผนปฏิบัติการ

1. กิจกรรมหลักของแผน

                1.มีการจัดการบรรยาย : โดยนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมเน้นการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้แก่ชาวบ้านในชุมชนและหน่วยงานส่วนท้องถิ่น  เพื่อให้ทุกคนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งชี้แจ้งแผนการพัฒนาเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่คนในชุมชนเกี่ยวกับการป้องกัน ดูแล รักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน  เพราะเราเชื่อว่าความรู้ความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญดั้งในเราจึงต้องมีการบรรยายถึงสิ่งที่กำลังเป็นแนวทางป้องกันดูแลรักษาให้คนในชุมชนได้รับความรู้ที่ต้องต้องและจะได้มีส่วนร่วมในการดูแลชุมชนไปพร้อมกัน
2.ให้ความรู้ให้รู้จักสิทธิที่ตัวเองจะได้รับตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 67  สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตนย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม
                2.1. มีการให้ความรู้เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ว่ามีผลดี ผลเสีย หรือผลกระทบอะไรเมื่อสร้างขึ้นให้แก่ชาวบ้านและหน่วยงานต่างๆในชุมชน
                2.2.ทำโครงการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน พื้นที่ คุ้มครองสิ่งแวดล้อม  โดยโครงการนี้จะเน้นการลงพื้นที่ไป จัดการให้ชาวบ้านในชุมชนเพิ่มพื้นที่สีเขียว รวมถึงมีการจัดการรณรงให้ชาวบ้านรู้จักการแยกขยะ อย่างจริงจังพร้อมมีการเก็บข้อมูลตามชุมชน
                2.3..การจัดการระบบบ่อขยะที่มีในพื้นที่ให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น โดยมีนักวิชาการที่เกี่ยวข้องไปจัดระบบพร้อมทั้งให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วม
                สรุปแผนงาน เรามุ่งเน้นให้ชาวบ้านและบุคคลในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจของ ผลดี ผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากการทำโรงไฟฟ้า และผลักดันให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการรู้จักการใช้ประโยชน์กับสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเองเพื่อจะได้เป็นการพัฒนาชุมชนที่ยังยืนต่อไป

2. บุคคลกลุ่มที่อาจจะสนับสนุนนโยบายของเรา : ชาวบ้านในชุมชน  เจ้าหน้าที่ดูแลด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม  และผู้คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้า

3. เพื่อที่จะให้บุคคล กลุ่มบุคลดังกล่าวสนับสนุนเรา : ทางด้านนักวิชาการเราต้องเข้าไปติดต่อและแผนการที่เราอยากผลักดันให้เกิดขึ้นให้แก่นักวิชาการได้เห็นและขอความร่วมมือให้มาเป็นผู้ช่วยในการให้ความรู้แก่ชาวบ้าน ส่วนทางชาวบ้านและหน่วยงานเราต้องมีการไปสำรวจพื้นที่และเชิญชวนให้ชาวบ้านมาฟังการบรรยาย หรืออาจมีการเข้าไปแฟงตัวในพื้นที่เพื่อเชิญชวนชาวบ้านให้มารวมมือ

4. บุคคล กลุ่มบุคลที่อาจจะต่อต้านนโยบายที่นำเสนอผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์จากการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ  กลุ่มผู้เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้า

5. พวกเราอาจจะได้รับการอนุมัติการสนับสนุนจากบุคล กลุ่มบุคลโดยทาง: การเขียนหนังสือทำเรื่องการเสนอข้อมูลที่เราได้เตรียมมาและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นของสิ่งที่เราทำให้แก่ชาวบ้านและหน่วยงานเจ้าหน้าที่ต่างๆให้เห็นอย่างชัดเจนไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์ เป้าหมายเพื่อให้บุคลได้เข้าใจและสนับสนุนแผนงานของเรา

6. เจ้าหน้าที่ของภาครัฐและหน่วยงานของภาครัฐใดที่จะคิดดีสนับสนุนเรา: สำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณะสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่

7. พวกเราได้รับการสนับสนุนจากพวกเขาทางด้านนักวิชาการจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมหรือกระทรวงสาธารณะสุขคือการได้มีนักวิชาการเข้ามาช่วยให้ความรู้และช่วยวางแผนในการทำแผนการ  ทางด้านขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นให้ข้อมูลในพื้นที่และการติดต่อเชิญชวนชาวบ้านในพื้นที่ให้มาเข้ารวมรับฟังคำบรรยาย รวมถึงการให้สถานที่ จัดการบรรยาย

8. เจ้าหน้าที่ของภาครัฐหรือหน่วยงานที่มีอำนาจอาจจะต่อต้านนโยบายของเรา: คนบางกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์จากการสร้างโรงไฟฟ้าอาจจะเป็นเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงผู้ไม่หวังดี